การไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท เป็นหลักการสากล จากการที่เราจะเห็นได้ตามข่าวทั่วไปว่า ประเทศต่างๆ เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ก็มักจะใช้การเจรจาไกล่เกลี่ย ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อลดข้อบาดหมางให้จบลง โดยทุกฝ่ายยินดีในผลลัพท์ของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้เพื่อทำให้ความขุ่นข้องใจ สลายไปโดยเร็วกว่าวิธีอื่นๆ
เริ่มต้นนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องประสงค์จะเจรจาก่อน โดยมีเป้าหมายในใจเสียก่อนว่า ตนต้องการอะไร และอีกฝ่ายหนึ่งต้องการอะไร ยอมเสียเปรียบ หรือรับข้อเรียกร้องของอีกฝ่ายได้มากแค่ใหน ถอยหรือรับ โดยตนเองรับได้ มิใช่เป็นการยอมเสียทีเดียวแต่เพื่อให้ตนเองได้รับข้อสรุปโดยเร็ว
เมื่อทั้งสองฝ่ายประสงค์รับข้อเสนอของกันและกันแล้วย่อมสามารถที่จะดำเนินการทางด้านอื่นที่มีผลประโยชน์ร่วมกันได้ต่อ โดยไม่ติดใจกันและกัน ซึ่งจะเป็นผลดีกว่าที่ให้ศาลมีคำพิพากษา เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นการทำร้ายจิตใจฝ่ายที่แพ้คดี เมื่อมีการแพ้ชนะเกิดขึ้น การที่จะร่วมงาน หรือประกอบธุรกิจต่อ ย่อมไม่สามารถที่จะร่วมงานกันได้อีก หรือรู้สึกว่าอีกฝ่ายเป็นปรปักษ์แก่ตนเอง
การดำเนินการไกล่เกลี่ยนั้น มิใช่เพียงแค่การดำเนินการในชั้นศาล หรือเพียวแค่บุคคลทั้งสองฝ่าย หากแต่สามารถดำเนินการได้ทุกเมื่อ และมีบุคคลหลายฝ่ายเข้ามาให้แนวคิด หรือแนะนำว่าหากฝ่ายใดดื้อดึง อากเป็นผลเสียแก่ตัวเองหรือไม่เป็นผลดีแก่ตัวเองเท่าไรนัก หรืออาจทำให้อีกฝ่ายแย่โดยที่เราไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย รั้งแต่จะเสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
การดำเนินการไกล่เกลี่ย เราแนะนำให้ท่านปฏิบัติแต่ก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง หรือเรียกร้องอะไรต่อฝ่ายตรงข้าม ทั้งนี้ เพื่อให้ท่านได้รับประโยชน์ได้เร็วที่สุด และรวดเร็วที่สุด ตลอดจนไม่สร้างศัตรูหรือคู่ต่อสู้ทางการค้า เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งยังได้ใจฝ่ายตรงข้ามว่า เราเป็นฝ่ายที่สามารถประนีประนอมได้ไม่ใช่บุคคลจำพวกที่ไม่น่าคบแต่อย่างใด