พระราชบัญญัติ
การทวงถามหนี้
พ.ศ. ๒๕๕๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
“ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติ หรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย
“ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า
(๑) บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือ
(๒) บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด
“สินเชื่อ” หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึง ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
“ธุรกิจทวงถามหนี้” หมายความว่า การรับจ้างทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความซึ่งกระทำแทนลูกความของตน
“ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้” หมายความว่า ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของลูกหนี้ และให้หมายความรวมถึง หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร และสถานที่ติดต่อโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ที่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้ด้วย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้
“นายทะเบียน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามการเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
การทวงถามหนี้
มาตรา ๕ บุคคลใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
บุคคลซึ่งจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความหรือสำนักงานทนายความ ให้คณะกรรมการสภาทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความทำหน้าที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนโดยต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศตามมาตรา ๕
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความหรือสำนักงานทนายความ ให้คณะกรรมการสภาทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนตามมาตรา ๓๗ ที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗
ให้สภานายกพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยทนายความมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนที่เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา ๓๑ หรือคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ คำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด ทั้งนี้ ให้นำระยะเวลาในการอุทธรณ์ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการสภาทนายความมีอำนาจออกข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวข้องได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ข้อบังคับนั้นเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษตามกระบวนการในกฎหมายว่าด้วยทนายความ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการสภาทนายความและสภานายกพิเศษรายงานการดำเนินการของตนตามมาตรา ๖ ให้คณะกรรมการเพื่อทราบเป็นประจำทุกสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าการดำเนินการของคณะกรรมการสภาทนายความหรือสภานายกพิเศษตามมาตรา ๖ ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการแจ้งให้คณะกรรมการสภาทนายความ หรือสภานายกพิเศษเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๘ ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว
การติดต่อกับบุคคลอื่นนอกจากบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น โดยผู้ทวงถามหนี้ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้
(๒) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็น และตามความเหมาะสม
(๓) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในหนังสือ หรือในสื่ออื่นใดที่ใช้ในการติดต่อสอบถาม ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ของลูกหนี้
(๔) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้
(๑) สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า หรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(๒) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา และในวันหยุดราชการ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา หากไม่สามารถติดต่อตามเวลาดังกล่าวได้ หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(๓) จำนวนครั้งที่ติดต่อ ในช่วงเวลาตาม (๒) ให้ติดต่อตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม และคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดจำนวนครั้งด้วยก็ได้
(๔) ในกรณีที่เป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ และจำนวนหนี้ และถ้าผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า ให้แสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ด้วย
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ขอรับชำระหนี้ ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ด้วย และเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้แล้ว ให้ผู้ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ด้วย
หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยชอบ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ทวงถามหนี้จะได้รับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม
(๑) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น
(๒) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น
(๓) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๘ วรรคสอง (๒)
(๔) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(๕) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๖) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ความใน (๕) มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล
มาตรา ๑๒ ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ดังต่อไปนี้
(๑) การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ
(๒) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย
(๓) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน
(๔) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต
(๑) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(๒) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้
(๑) ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๒) ทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตน เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหนี้ของสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
การกำกับดูแลและตรวจสอบ
มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งจำนวนไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการของกรมการปกครองสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านการเงินการธนาคาร ด้านกฎหมาย หรือด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ให้แต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรพัฒนาภาคเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการทวงถามหนี้ของผู้ทวงถามหนี้ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง
(๑) ออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ออกข้อบังคับกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว
(๓) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งให้ชำระค่าปรับทางปกครอง และคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามมาตรา ๓๘
(๔) กำหนดหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบและระยะเวลาการชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบตามมาตรา ๔๕
(๕) เสนอแนะ หรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนเสนอแนะคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๘ (๓) คณะกรรมการเปรียบเทียบ กรมการปกครอง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ทำการปกครองจังหวัด และกองบัญชาการตำรวจนครบาล
(๖) เสนอแนะคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการในการคุ้มครอง หรือช่วยเหลือลูกหนี้ในด้านอื่น
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนด หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อบังคับและประกาศของคณะกรรมการนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
(๑) เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๓) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
(๕) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะกระทำผิดวินัย หรือเคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหน่วยงานของเอกชนเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๖) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ให้สินเชื่อ หรือเป็นผู้ให้สินเชื่อ หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่าเก้าสิบวัน และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
มาตรา ๒๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่แทนตามลำดับ ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒ ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอย่างน้อยคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับการกำกับดูแลการทวงถามหนี้ของผู้ให้สินเชื่อซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมธนาคารไทยเป็นอนุกรรมการ โดยมีข้าราชการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และเป็นผู้ช่วยเลขานุการจำนวนสองคน
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นได้รับการปฏิบัติจากผู้ทวงถามหนี้ที่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ เพื่อวินิจฉัยสั่งการได้
การร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๒๔ ในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการ คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๘ (๓) มีอำนาจสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
มาตรา ๒๕ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรมการปกครองรับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย
ให้กรมการปกครองมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗
(๒) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้ หรือกำกับดูแลการปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๓) ประสานกับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลหรือตรวจสอบผู้ทวงถามหนี้ หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้
(๔) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และอบรมวิธีการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย
มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรับผิดชอบในงานธุรการของคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๒ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะอนุกรรมการดังกล่าวได้มอบหมาย
ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีอำนาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทวงถามหนี้ของผู้ให้สินเชื่อซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้หรือกำกับดูแลการปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๒) ประสานกับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลหรือตรวจสอบผู้ทวงถามหนี้หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้
(๓) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และอบรมวิธีการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม
(๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งได้มอบหมาย
มาตรา ๒๗ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกในพื้นที่ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด คลังจังหวัด ประธานสภาทนายความจังหวัด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้แทนองค์กรพัฒนาภาคเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
ให้ปลัดจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการของที่ทำการปกครองจังหวัดสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนมณฑลทหารบกที่ ๑๑ ผู้แทนสภาทนายความ และผู้แทนองค์กรพัฒนาภาคเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
ให้ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแต่งตั้งข้าราชการตำรวจของกองบัญชาการตำรวจนครบาลสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
(๑) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามมาตรา ๓๗
(๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มอบหมาย
(๔) รายงานการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการทุกสามเดือน
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ และคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้นำมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ที่ทำการปกครองจังหวัด และกองบัญชาการตำรวจนครบาล รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัด และคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำกรุงเทพมหานครตามลำดับ และให้มีอำนาจหน้าที่ภายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นสำนักงานทะเบียนรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๒) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
(๓) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้ หรือกำกับดูแลการปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๔) ประสานกับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลหรือตรวจสอบผู้ทวงถามหนี้ หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้
(๕) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และอบรมวิธีการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ และคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มอบหมาย
มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ ให้ที่ว่าการอำเภอ และสถานีตำรวจเป็นสถานที่รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ได้ด้วย รวมทั้งให้หัวหน้าหน่วยงานดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารเพื่อส่งเรื่องต่อไปยังที่ทำการปกครองจังหวัด หรือกองบัญชาการตำรวจนครบาล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๑ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามมาตรา ๕ ให้ผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๒ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ทวงถามหนี้หรือกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือพนักงานของผู้ทวงถามหนี้ ในกรณีผู้ทวงถามหนี้เป็นนิติบุคคล มาให้ถ้อยคำ แสดงข้อมูล หรือส่งสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา หรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการสินทรัพย์ และหนี้สินของผู้ทวงถามหนี้ และบุคคลดังกล่าวข้างต้น
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด
บทกำหนดโทษ
ส่วนที่ ๑
โทษทางปกครอง
มาตรา ๓๔ ในกรณีที่ปรากฏแก่คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ ว่าผู้ทวงถามหนี้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘ วรรคสอง (๑) หรือ (๔) มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๑ (๖) หรือมาตรา ๑๓ (๑) ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากผู้ทวงถามหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ พิจารณามีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๓๕ ในการพิจารณาออกคำสั่งลงโทษปรับทางปกครอง ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ คำนึงถึงความร้ายแรงแห่งพฤติกรรมที่กระทำผิด
ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองไม่ยอมชำระค่าปรับทางปกครอง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม และในกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับตามคำสั่ง หรือมีแต่ไม่สามารถดำเนินการบังคับทางปกครองได้ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชำระค่าปรับ ในการนี้ ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคำสั่งให้ชำระค่าปรับนั้นชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา และบังคับให้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าปรับได้
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับโทษปรับทางปกครอง ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ หรือการกระทำการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการแทนนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าวต้องรับโทษปรับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๑) เคยถูกลงโทษปรับทางปกครอง และถูกลงโทษซ้ำอีกจากการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน
(๒) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติที่มีโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘ ผู้ทวงถามหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้ชำระค่าปรับทางปกครองตามมาตรา ๓๔ วรรคสอง หรือผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนตามมาตรา ๓๗ ต่อคณะกรรมการได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
คณะกรรมการต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ส่วนที่ ๒
โทษอาญา
มาตรา ๓๙ บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๘ วรรคสอง (๒) หรือ (๓) มาตรา ๑๑ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) หรือมาตรา ๑๓ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๐ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ (๒) (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๑ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๑ (๑) หรือมาตรา ๑๒ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๓ บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามมาตรา ๒๔ หรือขัดขวาง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ หรือการกระทำการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการแทนนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าวต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๔๕ บรรดาความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีนั้นเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้คณะกรรมการเปรียบเทียบแจ้งให้คณะกรรมการทราบโดยเร็ว
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๖ บุคคลใดประกอบธุรกิจทวงถามหนี้หรือกิจการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อไป ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างการยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลนั้นประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่รับจดทะเบียนจากนายทะเบียน
มาตรา ๔๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในวาระเริ่มแรกที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและนายกสภาทนายความ เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งข้าราชการของกรมการปกครองสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การทวงถามหนี้ในปัจจุบันมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง การคุกคามโดยขู่เข็ญ การใช้กำลังประทุษร้าย หรือการทำให้เสียชื่อเสียง รวมถึงการให้ข้อมูลเท็จ และการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่บุคคลอื่น ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทวงถามหนี้ และการควบคุมการทวงถามหนี้ไว้เป็นการเฉพาะ สมควรมีกฎหมายในเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘
กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘